วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

8 วิธีอ่านหนังสือสอบได้อย่างเซียน และ Mind Mapping ไม่ต้องท่อง


8 วิธีอ่านหนังสือสอบได้อย่างเซียน

วันพฤหัสบดีที่ 7 May พ.ศ.2552 15:41 น จาก บางกอก ทูเดย์

เมื่อลองย้อนเวลากลับไปในสมัยที่เรียนอยู่ ช่วงเวลาที่น่าเบื่อที่สุดคือ ช่วงเวลาแห่งการท่องตำราสอบ ไม่ว่าจะเรียนอยู่ในระดับไหนก็หลีกเลี่ยงการท่องตำราสอบกันไม่ได้ทั้งนั้น เคยเป็นไหมที่รู้สึกว่า อยากให้มีเวลาเยอะกว่านี้

เพื่อจะได้อ่านหนังสือสอบให้ทัน วันนี้เราจึงรวบรวมเทคนิคการอ่านให้ได้ประสิทธิภาพ ที่คิดว่าพอจะแก้ปัญหาเกี่ยวกับการอ่านมานำเสนอ ดังนี้

1. หัดให้ตัวเองมีวินัยให้ได้ คือ ถ้าเราวางแผนว่าจะอ่านหนังสือให้ได้เท่านี้สำหรับวันนี้ เราก็ต้องทำให้ได้ วิธีฝึกเริ่มแรกให้กำหนดง่ายๆ ก่อนว่า วันนี้เราจะอ่านตำราแค่ 1 บท หรือ 10 หน้า เป็นต้น เอาแค่นี้ให้ได้ ถ้าอ่านจบเร็วก็ไปทำอย่างอื่น พอวันต่อๆ ไปก็ค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นตามสมควร แล้วก็ต้องอ่านให้ได้ตามเป้าหมาย เมื่อเราอ่านได้ตามเป้าแล้วในแต่ละครั้งก็อย่าลืมให้รางวัลตัวเองด้วยทุกครั้ง โดยรางวัลก็อาจจะเป็นอะไรง่ายๆ เช่น ได้ดูละครหนึ่งเรื่องตอนกลางคืน เป็นต้น

2. วางแผนการอ่านหนังสือ เมื่อเรามีวินัยและเคารพการวางแผนของตัวเองแล้ว ต่อไปก็ต้อง วางแผนการอ่านหนังสือ การวางแผนที่ดีนั้นสำคัญมาก เพราะทำให้เราเดินไปถูกทิศทาง การวางแผนไม่ถือเป็นการเสียเวลา แต่เป็นการประหยัดเวลาในระยะยาว เพราะไม่ต้องไปเสียเวลาเดินผิดทาง

3. อย่าตะบี้ตะบันอ่านเกินควร อย่าคิดว่าตัวเองเป็น superman คือ สามารถอ่านหนังสือได้เยอะเกินกำลังภายในเวลาอันสั้น อย่าวางตารางการอ่านให้แน่นเกินไป เพราะนอกจากจะทำไม่ได้ตามแผนอยู่แล้ว ยังทำให้ตัวเองเครียดเพราะแผนนั้นโดยไม่จำเป็นด้วย แรกๆ อาจจะกะความสามารถตัวเองยากหน่อย หรือการอ่านตำราภาษาอังกฤษกับภาษาไทยก็ใช้ระยะเวลาการอ่านไม่เท่ากัน ก็ใช้เก็บสถิติจากการอ่านในรอบแรกๆ เช่น การอ่านภาษาอังกฤษ 1 หน้า เราใช้เวลา 10 นาที เราก็จะประมาณถูกว่าต้องใช้เวลาเท่าไรจึงจะอ่านจบบทหรือจบวิชา เป็นต้น

4. หาที่อ่านที่สงบเงียบและนั่งสบาย ส่วนบรรยากาศก็แล้วแต่คนชอบ บางคนชอบอ่านที่บ้าน ในห้องสมุด ในสวนมีต้นไม้เขียวๆ หรือในร้านกาแฟ หรือบางทีเราก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ควรไม่อยู่ใกล้ทีวี หรือสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เราเสียสมาธิ เพราะทำให้เราเสียเวลาในการอ่าน และทำให้จำได้ไม่ดีด้วย แต่ก็ทราบมาว่าบางคนจะชอบให้มีเสียงเพลงหรือเสียงอื่นๆ เวลาอ่านหนังสือด้วย อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบ

5. อย่าให้สิ่งใดมารบกวนการอ่าน เวลาอ่านหนังสือ เราควรกำหนดว่า เวลานี้เราจะตั้งใจ และไม่ปล่อยให้อะไรมาขัดโดยไม่จำเป็น เช่น อาจจะปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น คนอื่นก็จะไม่มารบกวนโดยไม่จำเป็น การได้ทำงานหรืออ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาติดต่อกันอย่างนี้มีประสิทธิภาพกว่าการอ่านที่ถูกหยุดด้วยสิ่งต่างๆ

6. พักผ่อนสมองบ้าง เมื่ออ่านหนังสือไปนานๆ เราก็จะเริ่มล้า ทั้งสมองที่ต้องคิด ทั้งร่างกายที่ไม่ได้ขยับ ทั้งสายตาที่ต้องจ้องอยู่นาน เราก็ควรกำหนดเวลาพัก อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบ อาจจะพักอ่านหนังสือทุกๆ ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมง โดยออกไปเดินยืดเส้นยืดสาย ดื่มน้ำ ทานขนม หรือไปมองต้นไม้เขียวๆ เวลาพักก็ต้องกำหนดด้วยว่า 5 นาที หรือ 15 นาที เป็นต้น

7. ชอบขีดเส้นหรือเน้นข้อความที่สำคัญในหนังสือโดยไม่หวงหนังสือ ว่าจะดูเลอะเทอะเลย เพราะชอบเวลากลับมาอ่านทวน เราก็จะรู้ว่าจุดไหนเป็นข้อมูลสำคัญ เรายังสามารถใช้ทบทวนก่อนสอบได้ด้วย สำหรับคนที่ชอบหนังสือใหม่ๆ เกลี้ยงๆ ก็อาจจะต้องหาสมุดกับปากกามาจดสิ่งที่สำคัญจากหนังสือนั้นๆ เพื่อการอ่านทบทวนได้

8. พยายามจัดเวลาอ่านหนังสือในช่วงเวลาที่เราตื่นตัวที่สุด อันนี้แตกต่างกันไป บางคนจะจำได้ดีถ้าอ่านตอนเช้า บางคนเป็นตอนเย็น ก็ต้องสังเกตตัวเองดู ถ้าทราบแล้วอาจจะกำหนดเป็นเวลาประจำทุกวัน เช่น ทุกวันเวลา 2 ทุ่ม - 5 ทุ่ม เราต้องอ่านตำราทบทวนที่เรียนมา เป็นต้น

อย่าลืมทบทวนตำราเรียนทุกวันนะคะ แล้วเอาเทคนิคทั้ง 8 ไปใช้ดู เผื่อประสิทธิภาพในการอ่านจะทำให้เกรดภาคเรียนต่อ

อ่านทวนบทเรียน ทำ Mind Mapping โดยยึดหลัก What Why When Where Who How ก็จะคลุมใจความทั้งหมด ไม่ต้องท่อง และ จะเป็นพื้นฐานในการทำวิจัยในอนาคต

สอบไม่ต้องอ่านหนังสือหามรุ่งหามค่ำ แถมได้ เกรด A แค่ทำ Mind Mapping
จากพี่ปอ Dek-D Education และ www.learners.in.th/blog/sriphare

น้องๆ คงเคยได้ยินได้ฟังเคล็ดลับการเรียน เคล็ดลับการทำข้อสอบ ให้ได้ A กันมามากมาย หลายเคล็ดลับ หลายกระบวนท่า เคล็ดลับนี้ก็เป็น 1 ในสุดยอดเคล็ดลับที่พี่ปอ แห่งสำนัก dek-d ภูมิใจนำเสนอ ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ ที่เราทุกคนนั้นน่าจะเคยเรียนรู้มาแล้วสมัยเด็กๆ นั่นคือ การทำ Mind Mapping

Mind Mapping แผนที่ความคิด (Mind Mapping or Concept Mapping) เป็น การจดบันทึกแก่นของไอเดียและความคิดใหม่ๆ รวมไปถึงการเชื่อมโยงไอเดียหรือความคิดต่างๆเข้าด้วยกัน เริ่มต้นด้วยการตั้งไอเดียหลักขึ้นมาที่กลางหน้ากระดาษ(แนวนอน-landscape)ก่อน แล้วบันทึกไอเดียต่างๆกระจายออกเป็นกิ่งๆ รายรอบออกจากศูนย์กลางของไอเดียหลักที่กลางหน้ากระดาษนั้น

แล้ว Mind Mapping เนี่ย มีประโยชน์ต่อการอ่านหนังสือสอบและการเรียนอย่างไรกัน ?

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า Mind Map หรือ แผนที่ความคิดนั้น เป็นการจดบันทึก สิ่งต่างๆที่เราได้เรียน ได้รู้มา โดยจะจดไอเดียหลักๆ ลงไป ทำให้เราได้เห็นถึง ความคิดรวบยอด และได้เข้าใจถึงหลักการ ของบทเรียนนั้นๆมากขึ้น ที่สำคัญ ยังทำให้เราทบทวนเรื่องราวต่างๆที่เรียนมาได้ง่ายด้วย เพราะเราจด แต่สิ่งหลักๆลงไป ทำให้ไม่ต้องอ่านเยอะ น้องๆหลายคนอาจจะคิดว่า มันก็คล้ายๆกับ การโน้ตย่อ แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่ครับ มันมีดีกว่าตรงที่ เราได้สรุป ส่วนหลักๆที่เราได้รู้มา แล้วเขียนลงไป มันจะทำให้เราได้คิด และเข้าใจมากขึ้นด้วย ไม่เชื่อลองทำดูเลย พี่ปอท้าพิสูจน์ อิอิ !!!

หลักการง่ายๆในการทำ Mind Mapping

- โฟกัส ลงไปที่ไอเดียต่างๆที่เป็นกุญแจสำคัญ โดยการจดลงไปที่กลางหน้ากระดาษด้วยคำพูดของเราเอง

- ต่อจากนั้นก็ขยายกิ่งก้านสาขาออกไปโดยแต่ละกิ่งก็มีไอเดียของกิ่งนั้น หลังจากที่ได้ทำเช่นนี้ไปจนมากพอแล้วในขั้นต้น

- จากนั้นก็ตรวจตราดูไอเดียต่างๆที่สัมพันธ์กัน เพื่อเชื่อมโยงไอเดียของแต่ละกิ่งที่เกี่ยวข้องกันเข้าหากัน. การกระทำเช่นนี้ เรากำลังวาดแผนที่ความรู้(ความคิด, ไอเดีย) ในลักษณะที่จะช่วยให้เราเข้าใจและโยงประเด็นสำคัญ รวมถึงจดจำข้อมูลใหม่ๆได้

นอกจากนี้ ในการทำ Mind Map ทุกครั้ง ควร ใช้หลักที่ว่า เขียนแต่คำที่เป็น keyword หรือคำหลักลงไป ที่มาจากการสรุปรวบยอดความคิดของเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น